พืชผักสวนครัว



ผัก 

เป็นผลิตผลพืชสวน โดยส่วนมากจะเป็นพืชล้มลุก มีไม่กี่ชนิดที่เป็นพืชยืนต้นและเป็นไม้เนื้ออ่อน เราสามารถจำแนกผักออกได้ตามส่วนที่นำมาใช้ในการบริโภคดังนี้

1. ราก รากพืชที่เรานำมาบริโภคเป็นผัก  เช่น  หัวแครอท มันแกว รากกระชาย มันเทศ มันสำปะหลัง แรดิช หัวปีท
 
2. ลำต้น ลำต้นที่เรานำมาบริโภคเป็นผัก มีทั้งลำต้นใต้ดินและเหนือดิน  ได้แก่  หน่อไม้  กะหล่ำปลี ผักกาดหอมชนิดต้น   มันฝรั่ง  เผือก  ฯลฯ
 
3. ใบ ใบ พืชที่เรานำมาบริโภคเป็นผักมีมากมายหลายชนิด ได้แด่ ผักกาด คะน้า กะหล่าปลี ผักหวาน ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ยอดชะอม ยอดกระถิน สะระแน่ โหรพา ใบชะพลู และอีกหลายๆชนิด ในแต่ละภาค  แต่ละท้องถิ่นก็มีแตกต่างกันไป
 
4. ดอก ดอกที่เรานำมาบริโภคเป็นผัก ได้แก่ ดอกโสน ดอกกะหล่ำ ฯลฯ
 
5. ผล ผลที่นำมาบริโภคเป็นผักก็มีหลายชนิด ได้แก่ แตงกวา ถั่วพู ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วลันเตา ฟัก    บวบ แตงโมอ่อน กระเจี้ยบ ข้าวโพดฝักอ่อน มะเขือเปราะ มะเขือพวง มะเขือเทศ แตงโม ฟักทอง พริก ฯลฯ

พืชและผักที่คนไทยเรานำมาใช้ทำเป็นอาหารประจำกันทุกวัน เป็น แหล่งอาหารที่ให้แร่ธาตุ วิตามินที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีราคาถูก เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อสัตว์จากข้อมูลวิจัยกล่าวว่า มนุษย์เราควรบริโภคผักวันละประมาณ 200 กรัม เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุและวิตามินอย่างเพียงพอ 

ผักทุกชนิดมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผักใบเขียว สีเขียวในผักประกอบไปด้วยคลอโรฟิลล์ เบต้าแคโรทีนและวิตามินอีซึ่งมีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคมะเร็ง อีกทั้งยังช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด ช่วยบำรุงสมองและความจำ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ควบคุมสมดุลของระดับแคลเซียม กากใยอาหารสูงยังช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปอย่างปกติ ไม่เป็นโรคท้องผูก อึดอัดท้อง




คุณประโยชจากผักต่างๆ

     


สะเดา  (Neem  tree)
มีเบต้าแคโรทีนสูง   บำรุงสายตา   เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้นอนหลับ


ผักกาดขาว (Chinese white cabbage)

ช่วยระบบย่อยอาหาร  ขับปัสสาวะ  แก้ไอ  มีโฟเลทสูง บำรุงคุณแม่ตั้งครรภ


ต้นหอม  (Shallot)

มีน้ำมันหอมระเหย  บรรเทาอาการหวัด  มีสารฟลาโวนอยด์ต้านมะเร็ง


แครอท (Carrot)


เบต้าแคโรทีนป้องกันโรคมะเร็ง  มีแคลเซียม  แพคเตท  ลดระดับ คลอเลสเตอรอลได้

หอมหัวใหญ่ (Onion)

มีสารฟลาโวนอยด์  ช่วยลดอาการของโรคหัวใจ  ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

คะน้า (Chinese kale)

 มีแคลเซียมและสารต้านอนุมูลอิสระสูง  ป้องกันโรคกระดูกพรุน และมะเร็ง

พริก (Chilli)

 มีแคปไซซินกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือด  ช่วยให้เจริญอาหาร  ขับเหงื่อ


กระเจี๊ยบเขียว (Okra)

ลดความดันโลหิต  บำรุงสมอง  ลดอาการกระเพาะหรือลำไส้อักเสบ


ผักกระเฉด(Water mimosa)

ดับพิษไข้  กากใยช่วยระบบขับของเสีย  เพิ่มการเผาผลาญสารอาหาร


 ตำลึง (Ivy  gourd)


มีวิตามินเอสูง  ดีต่อดวงตา  เส้นใยจับไนเตรต  ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร


มะระ (Chinese bitter cucumber)

มีแคลเซียม  ฟอสฟอรัส  เป็นยาระบายอ่อน ๆ  น้ำคั้นลดระดับน้ำตาลในเลือด


ผักบุ้ง (Water  spinach)

บรรเทาอาการร้อนใน  มีวิตามินเอบำรุงสายตา  ธาตุเหล็กบำรุงเลือด


ขึ้นฉ่าย (Celery)


กลิ่นหอม  ช่วยเจริญอาหาร  มีวิตามินเอ  บี  และซี  บำรุงสมอง ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

เห็ด (Mushroom)

แคลอรีน้อย  ไขมันต่ำ  มีวิตามินดีสูง  ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม เสริมกระดูกและฟัน

บัวบก (Indian  pennywort)

มีวิตามินบีสูง  ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย  บำรุงสมองและความจำ บำรุงผิวพรรณ ลดอาการอักเสบ


สะระแหน่ (Kitchen mint)

กลิ่นหอมเย็นของใบให้ความสดชื่น  ทำให้ความคิดแจ่มใส  แก้ปวดหัว



ชะพลู (Cha-plu)


รสชาติเผ็ดเล็กน้อย  แก้จุกเสียด  ขับเสมหะ  มีแคลเซียมสูง


ชะอม (Cha-om)


ช่วยลดความร้อนในร่างกาย  ขับลมในลำไส้  มีเส้นใยคอยจับ อนุมูลอิสระ

หัวปลี (Banana  flower)

รสฝาด  แก้ร้อนใน  กระหายน้ำ และบำรุงน้ำนม  มีกากใย  โปรตีน และวิตามินซีสูง

กระเทียม (Garlic)

ลดไขมันในเลือด  ป้องกันหัวใจขาดเลือด ใบกระเทียมมีโฟเลท เหล็ก วิตามินซีสูง

โหระพา (Sweet  basil)

น้ำมันหอมระเหยทำให้โล่งจมูก  ช่วยระบายลม  มีเบต้าแคโรทีน  แคลเซียม

ขิง (Ginger)

บรรเทาอาการหวัดเย็น  ลดอาการคัดจมูก รสเผ็ดร้อน  แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ

ข่า (Galangal)

น้ำมันหอมระเหย  ช่วยระบบย่อยอาหารขับลม  มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 


กระชาย (Wild ginger)

บรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ  บำรุงธาตุ  มีวิตามินเอและแคลเซียม



ถั่วพู (Winged bean)



ให้คุณค่าทางอาหารสูง  มีโปรตีน  แคลเซียม  ฟอสฟอรัส  และสาร  ช่วยย่อยกรดไขมันอิ่มตัว


ดอกขจร (Cowslip  creeper)


กระตุ้นให้รู้รสอาหาร  ให้พลังงานสูง  ประกอบด้วย  คาร์โบไฮเดรต  โปรตีน  ไขมัน


ถั่วฝักยาว (Long bean)


มีเส้นใย  ช่วยลดคอเลสเตอรอล  มีวิตามินซี  ช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก  บำรุงเลือด


มะเขือเทศ (Tomato)


มีวิตามินเอสูง  วิตามินซี  รสเปรี้ยว  ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย  และแก้อาการคอแห้ง


กะหล่ำปลี (White cabbage)

มีกลูโคซิโนเลท  เมื่อแตกตัวจะเป็นสารต้านมะเร็ง  และมีวิตามินซีสูง



มะเขือพวง (Plate brush eggplant)


ช่วยให้เจริญอาหารและช่วยลดความดันเลือด  มีแคลเซียม  และฟอสฟอรัส


 ผักชี (Chinese  paraley)


ขับลม  บำรุงธาตุ  ช่วยย่อยอาหาร  มีน้ำมันหอมระเหย  แก้หวัด  มีวิตามินเอและซีสูง


กุยช่าย (Flowering chives)

มีกากใยช่วยระบายของเสีย  มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง


ผักกาดหัว (Chinese radish)


แก้ไอ  ขับเสมหะ  เพิ่มภูมิต้านทางโรค  มีสารช่วยให้กระเพาะอาหารและลำไส้บีบตัวได้ดี

กะเพรา (Holy basil)

แก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง  มีเบต้าแคโรทีนสูง  ป้องกันโรคมะเร็ง  และโรคหัวใจขาดเลือดได้


แมงลัก (Hairy  basil)

ช่วยย่อยอาหาร  ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน  ขับลม  ขับเหงื่อ


ดอกแค (Sesbania)


กินแก้ไขช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง  เป็นยาระบายอ่อน ๆ  มีวิตามินเอสูง  บำรุงสายตา


การเก็บรักษาผัก



การเก็บเกี่ยวผักควรเก็บในเวลาเช้าจะทำให้ ได้ผักสดรสดี และหากยังไม่ได้ใช้ให้ล้างให้สะอาด และนำเก็บไว้ในตู้เย็น สำหรับผักประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัดจะได้ผลที่มีรสดีและจะทำให้ผล ดก หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปจะออกผลน้อยลง สำหรับในผักใบหลายชนิด เช่น หอมแบ่ง ผักบุ้งจีน คะน้า กะหล่ำปี การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อนหรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือลำต้นและรากไว้ไม่ถอนออกทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงาม ให้ผลได้อีกหลายครั้ง ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาให้น้ำและปุ๋ยอยู่ การปลูกพืชหมุนเวียนสลับชนิดหรือปลูผักหลายชนิดในแปลงเดียวกัน และปลูกผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นบ้างยาวบ้างคละกันในแปลงเดียวกัน หรือปลูกผักชนิดเดียวกันแต่ทยอยปลูกครั้งละ 3-5 ต้น หรือประมาณว่าพอรับประทานได้ในครอบครัวในแต่ละครั้งที่เก็บเกี่ยว ก็จะทำให้ผู้ปลูกมีผักสดเก็บรับประทานได้ทุกวันตลอดปี