ความเป็นมาของอาหารไทย

อาหารไทยอาหารไทยมีประวัติความเป็นมาช้านานจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งที่ปรากฏในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จากจดหมายเหตุบันทึกวรรณกรรมต่าง ๆมีหลักฐานไว้ให้อ้างอิงได้ถึงประวัติความเป็นของอาหารไทยมาที่มีคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราญ และเปลี่ยนแปลงไปตามยุกสมัยที่เจริญรุ่งเรื่องขึ้น

ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้นและจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษ โดยส่วนใหญ่อาหารไทยจะมีวิธีการประกอบอาหารอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนัก และทุกครัวเรือนของคนไทย มักจะมีเครื่องครัวไว้ประกอบอาหารติดบ้านอยู่ทุกครัวเรือน

การประกอบอาหารไทยมีด้วยกันหลายรูปแบบไม่ ว่าจะเป็นแกง ต้ม ผัด ยำ รวมทั้งอาหารไทยได้รับอิทธิพลในการปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหารตั้งแต่ อดีต อาทิการนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบอาหารก็ได้รับ อิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย
หรืออาหารจำพวกผัดก็ได้ รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน เป็นต้น เมนูอาหารไทยที่ขึ้นชื่อลือชาหลายชนิดจึงประกอบไปด้วยอาหารมากมายกว่า 255 ชนิดอาหารไทยถือว่ามีลักษณะพิเศษ เนื่องจากประเทศไทยเป็นอู่ข้าว อู่น้ำ มีอาหารตามธรรมชาติที่มีพิเศษตามภูมิอากาศ และภูมิประเทศที่หลากหลายตลอดทั้งปีรวมทั้งคนไทยมีศิลปะอยู่ในสายเลือดอยู่แล้ว จึงแสดงออกซึ่งศิลปะวิทยาของคนในรูปแบบการปรุงแต่งและการกิน อาหารที่มีลักษณะเฉพาะ ตั้งแต่เรื่องการผสมกลมกลืนในการปรุงแต่งรูป รส กลิ่น ให้กลมกล่อมอร่อย

 อาหาร คือ สิ่งที่สิ่งมีชีวิตบริโภคเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ อาหารมีทั้งที่มาจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เกลือ น้ำ และสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ และ จุลินทรีย์
ปลาทับทิมทอดสมุนไพร 
อาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

 อาหารคาว คือ อาหารที่ถูกปรุงขึ้นมาเพื่อทานเป็นอาหารหลัก หรือเพื่อทานกับข้าวสวยหรือข้าวเหนียว เช่น ผัด แกง ต้ม หรือใช้ทานเล่นก็มีแต่น้อย
 

 อาหารหวาน คือ ของว่างที่รับประทานหลังจากรับประทานอาหารคาวเสร็จแล้ว เช่น ขนมต่างๆ
 

รสชาด คือ ลักษณะเฉพาะของอาหารที่รับรู้ได้ด้วยลิ้น รสชาดจำเป็นจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ประการได้แก่

1. รสชาดนั้นจะต้องแตกต่างไปจากรสชาดอื่นๆอย่างสิ้นเชิง เช่น รสหวานไม่เหมือนรสเปรี้ยว


2. รสชาดนั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการผสมรสชาดชนิดอื่นๆ เช่น เกลือผสมน้ำตาลไม่ทำให้เกิดรสขม


3. รสชาดนั้นจะต้องเป็นรสชาดที่เกิดขึ้นได้จากองค์ประกอบที่อยู่ในอาหาร เช่น รสเค็มเกิดจากเกลือแกง รสหวานเกิดจากน้ำตาล รสเปรี้ยวเกิดจากน้ำส้มสายชู รสขมจากมะระ นอกเหนือไปจากคุณสมบัติ 3 ประการของรสชาดแล้ว รสชาดแต่ละชนิดสามารถยืนยันได้หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น ตัวรับรสชาด (Taste Receptor) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญบนผิวเซลล์ที่สามารถจับตัวกับสารให้รสชาดอย่างจำเพาะ เจาะจงแล้วส่งสัญญาณไปยังสมองเพื่อบอกว่ากำลังรับประทานอาหารที่มีรสชาด เป็นอย่างไร